อาหารโภชนาการ เพื่อสุขภาพ
อาหารโภชนาการ เป็นสิ่งสำคัญสำหรับการดูแลสุขภาพและความเจริญเติบโตของร่างกาย โดยอาหารเป็นแหล่งสารอาหารที่ให้พลังงานและสารอาหารที่ต้องการสำหรับการทำงานของระบบต่างๆ ในร่างกาย ในขณะที่โภชนาการเป็นกระบวนการในการเลือกกินอาหารให้เหมาะสม เพื่อให้ร่างกายได้รับสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการทำงานที่ดี
อาหาร (Food) หมายถึง สิ่งที่มนุษย์บริโภคเพื่อให้ร่างกายได้รับพลังงานและสารอาหารที่จำเป็นสำหรับการดำรงชีวิตและฟื้นฟูร่างกาย อาหารมีหลายประเภทและมีส่วนประกอบที่หลากหลายทั้งคาร์โบไฮเดรต โปรตีน ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และน้ำ
โภชนาการ (Nutrition) หมายถึง กระบวนการให้สารอาหารที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตและสำหรับพัฒนาการของร่างกาย และรวมถึงการดำเนินการของร่างกายในการดูแลและใช้ประโยชน์จากสารอาหารเหล่านี้ โดยทั่วไปโภชนาการมีเป้าหมายในการให้สารอาหารที่ต้องการสำหรับความเจริญเติบโต การฟื้นฟูร่างกาย รักษาสุขภาพ และรักษาน้ำหนักที่เหมาะสมของร่างกาย
ธงโภชนาการ กับ ความสำคัญในแต่ละช่วงวัย
อาหารหลัก 5 หมู่ เป็นอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพของมนุษย์อย่างครบถ้วน โดยการรับประทานอาหาร 5 หมู่ที่จะได้ผลดีนั้นจะอาศัยหลักในการรับประทานที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อสุขภาพของเรามากที่สุด โดยเราจะใช้ “ธงโภชนาการ” เป็นสื่อกลางในการทานนั่นเอง แล้วธงโถชนาการคืออะไร จะมีความสำคัญหรือมีผลดีต่อการทานอาหารแต่ละวันของเรามากน้อยเพียงด ในวันนี้บทความของเราก็มีเกร็ดความรู้ดี ๆเกี่ยวกับธงโภชนาการ อาหารที่เหมาะสมกับวัยต่างๆ มาฝากทุกท่านกันค่ะ
อาหารโภชนาการ ธงโภชนาการคืออะไร ?
ธงโภชนาการ คือ ธงที่มีลักษณะเป็นรูปสามเหลี่ยม ซึ่งภายในรูปธงนั้นล้วนแต่เป็นการแนะนำการรับประทานอาหารให้มีประโยชน์สูงสุดต่อร่างกายและห่างไกลจากโรคร้ายได้อย่างง่ายดาย ซึ่งภายในธงจะแบ่งออกเป็น 6 ห้อง 4 ชั้น เพื่อแบ่งความสำคัญในการทานว่าควรทานอาหารประเภทใดมากที่สุดก็จะมีห้องที่ใหญ่ที่สุดและอาหารประเภทใดที่ควรทานน้อยก็จะมีขนาดที่เล็กลงมาเรื่อย ๆ นั่นเอง
โดยธงโภชนาการจะเปรียบเสมือนผู้นำแก่คนทุกวัยให้มีการรับประทานอาหารที่ได้ประโยชน์และมีผลดีต่อร่างกาย ด้วยการจำแนกแต่ละห้องแต่ละชั้นอย่างชัดเจน รวมถึงการรับประทานอาหารตามธงโภชนาการ จะช่วยให้ไม่เกิดโรคร้ายต่าง ๆ ได้ง่าย โดยเฉพาะโรคอ้วน โรคเบาหวาน โรคไต ซึ่งเป็นโรคยอดฮิตในหมู่วัยรุ่นและผู้สูงอายุในปัจจุบัน
ความสำคัญของ อาหารโภชนาการ
อาหารและโภชนาการ มีความสำคัญอย่างมากต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสุขภาพที่แข็งแรง นี่คือคำอธิบายเกี่ยวกับ ความสำคัญของอาหาร และโภชนาการ
- พลังงานและการทำงาน: อาหารเป็นแหล่งหลักในการให้พลังงานในการทำงานของร่างกาย โดยคาร์โบไฮเดรตและไขมันที่มีในอาหารจะเป็นแหล่งพลังงานที่สำคัญสำหรับการเคลื่อนไหวและการทำกิจกรรมต่างๆ ในชีวิตประจำวัน
- การเจริญเติบโตและฟื้นฟูร่างกาย: โปรตีนในอาหารเป็นสารอาหารที่สำคัญสำหรับการเจริญเติบโตของร่างกาย และมีบทบาทในกระบวนการซ่อมแซมเนื้อเยื่อที่เสียหาย เช่น การฟื้นฟูกล้ามเนื้อหลังการออกกำลังกายหนัก
- สารอาหารที่จำเป็น: อาหารมีประสิทธิภาพในการจัดหาสารอาหารที่ร่างกายต้องการ เช่น วิตามิน แร่ธาตุ เพื่อส่งเสริมฟังก์ชันต่างๆ ของระบบร่างกาย เช่น ภูมิคุ้มกัน การย่อยอาหาร การผลิตเลือด เป็นต้น
- ป้องกันโรค: การบริโภคอาหารที่มีโปรตีนที่เพียงพอและรวมถึงผักและผลไม้ที่มีวิตามินและแร่ธาตุสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเป็นโรคที่เกี่ยวกับระบบต่างๆ ในร่างกาย เช่น โรคหัวใจ ความดันโลหิตสูง ภูมิแพ้ ฯลฯ
- พัฒนาการทางสมอง: อาหารที่มีปริมาณดีของโปรตีนและสารอาหารสำคัญอื่นๆ เช่น แอมิโนกรดช่วยส่งเสริมการพัฒนาสมองและประสิทธิภาพในการเรียนรู้ของผู้เรียน
- สร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ดี: การเรียนรู้เกี่ยวกับโภชนาการที่เหมาะสมสามารถช่วยสร้างพฤติกรรมการบริโภคที่ดีในระยะยาว โดยผู้คนจะเลือกบริโภคอาหารที่มีประโยชน์และสมดุล เพื่อสุขภาพที่ดี
อาหารและโภชนาการมีบทบาทสำคัญในทุกด้านของสุขภาพและคุณภาพชีวิตของมนุษย์ การรับประทานอาหารที่มีโภชนาการที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่ควรใส่ใจเพื่อสร้างสุขภาพที่ดีในระยะยาว คุณค่าทางโภชนาการ
ธง อาหารโภชนาการ มีกี่ชั้น
ธงโภชนาการ เป็นธงสามเหลี่ยมที่จะมีชั้นบนเป็นส่วนที่มีความกว้างที่สุดและจะค่อย ๆ เล็กลดหลั่นตามกันมาจนเกิดเป็นธงรูปทรงสามเหลี่ยมโดยมีทั้งหมด 4 ชั้น ได้แก่
ชั้นที่ 1 หมู่คาร์โบไฮเดรต
คาร์โบไฮเดรต เป็นชั้นบนสุด ประกอบด้วยอาหารประเภทข้าว เผือก มัน ธัญพืชทุกชนิด ขนมปัง แป้ง และผลิตภัณฑ์จากแป้ง สำหรับรับประทานเป็นอาหารหลัก โดยเน้นที่ข้าวเป็นหลัก 8-12 ทัพพี/วัน หรือปรับเปลี่ยนเป็นอาหารประเภทผลิตภัณฑ์แป้งเป็นครั้งคราว
ชั้นที่ 2 หมู่วิตามิน และแร่ธาตุ
วิตามิน และ แร่ธาตุ เป็นชั้นที่ 2 มีลักษณะผ่าครึ่งเป็น 2 ซีก ซ้าย-ขวา โดยให้ฝั่งซ้ายของผักมีสัดส่วนมากกว่าฝั่งขวาที่เป็นซีกของผลไม้เล็กน้อย สำหรับเป็นแหล่งให้วิตามิน และแร่ธาตุ โดยเน้นที่รับประทานพืชผัก 4-6 ทัพพี/วัน ควบคู่กับอาหารชั้นแรก และรับประทานผลไม้หลังอาหารหรือรับประทานเป็นครั้งคราว 3-5 ส่วน/วัน
ชั้นที่ 3 หมู่โปรตีน
โปรตีน เป็นชั้นที่ 3 ชั้นที่ผ่าครึ่งเป็น 2 ซีก ซ้าย-ขวา โดยให้ฝั่งขวาของกลุ่มเนื้อสัตว์ และธัญพืชโปรตีนมีสัดส่วนมากกว่าฝั่งซ้ายของนม โดยเน้นรับประทานอาหารประเภทที่ให้โปรตีน เช่น เนื้อสัตว์ และเมล็ดธัญพืชที่มีโปรตีนสูง 6-12 ช้อน/วัน ควบคู่กับการดื่มนมเป็นประจำ 1-2 แก้ว/วัน
ชั้นที่ 4 หมู่ไขมัน และอาหารรสจัด
ไขมัน และ อาหารรสจัด เป็นชั้นที่ 4 เป็นชั้นล่างสุด ประกอบด้วยอาหารประเภทไขมัน และอาหารที่ให้รสจัด เช่น เกลือ และน้ำตาล โดยให้รับประทานเพียงเล็กน้อย เท่าที่จำเป็น
ธงโภชนาการสำหรับวัยรุ่น
วัยรุ่น ได้แก่ กลุ่มบุคคลชายและหญิง ซึ่งผู้ชายจะมีอายุในช่วงวัยรุ่นอยู่ที่ 14 – 19 ปีและผู้หญิงจะมีช่วงอายุวัยรุ่นอยู่ในช่วง 12-17 ปี โดยวัยรุ่นเป็นวัยที่ร่างกายต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์ต่อร่างกายมากที่สุด เพื่อการเจริญเติบโตสมวัย โดยเฉพาะผู้หญิงที่เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงของร่างกายอย่างเห็นได้ชัด ทั้งเรื่องของประจำเดือน หน้าอกและสะโพกผาย ซึ่งการทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักธงโภชนาการนั้นจะช่วยให้ร่างกายของวัยรุ่นมีการเจริญเติบโตที่แข็งแรงและสมวัย โดยธงโภชนาการวัยรุ่นมีวิธีในการรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์สูงสุดต่อตนเองได้ ปริมาณที่ร่างกายต้องการต่อวัน ดังนี้
- รับประทานอาหารชั้นคาร์โบไฮเดรต ควรอยู่ในช่วง 10 ทัพพี ต่อ 1 วัน
- รับประทานอาหารจำพวกผัก ควรอยู่ในช่วง 5 ทัพพี
- รับประทานอาหารจำพวกผลไม้ ควรอยู่ในช่วง 4 ส่วน ต่อ 1 วัน (1 ส่วน เท่ากับ 6-10 คำ)
- รับประทานอาหารจำพวกโปรตีนหรือเนื้อสัตว์ นม และไข่ ควรอยู่ในช่วง 9 ช้อนโต๊ะและนม 1 แก้ว ต่อวัน
- รับประทานอาหารจำพวกไขมันไม่ควรเกิน 65 กรัม ต่อวัน
ธงโภชนาการสำหรับวัยผู้ใหญ่
อาหารวัยผู้ใหญ่ วัยผู้ใหญ่จะเป็นช่วงที่มีอายุตั้งแต่ 20 – 60 ปี ซึ่งก็เป็นช่วงที่ร่างกายต้องการสารอาหารหลากหลายและมากเป็นพิเศษ เนื่องจากคนในวัยนี้จำเป็นที่จะต้องใช้ทั้งสมองและกำลังอย่างมาก ทั้งในการเรียนและการทำงานโดยธงโภชนาการวัยผู้ใหญ่ที่ควรได้รับใน 1 วัน มีดังนี้
- รับประทานอาหารชั้นคาร์โบไฮเดรตควรอยู่ในช่วง 12 ทัพพี
- รับประทานอาหารจำพวกผักควรอยู่ในช่วง 6 ทัพพี
- รับประทานอาหารจำพวกผลไม้ควรอยู่ในช่วง 5 ส่วน
- รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ควรอยู่ในช่วง 12 ช้อนโต๊ะ
- รับประทานอาหารจำพวกไขมัน เกลือและน้ำตาล ไม่ควรเกิน 1 ช้อนชา หรือประมาณ 2,300 มิลลิกรัม
ธงโภชนาการสำหรับผู้สูงอายุ
ว่ากันว่าผู้สูงอายุนั้นในอนาคตจะกลับไปเป็นเด็กอีกครั้ง ซึ่งก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิดค่ะเพราะในเรื่องของธงโภชนาการผู้สูงอายุนั้น จะอิงจากธงโภชนาการเด็กนั่นเอง ซึ่งก็หมายถึงเด็กและผู้สูงอายุ มีสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกายที่ควรได้รับเท่า ๆ กัน โดยมีดังนี้
- รับประทานอาหารชั้นคาร์โบไฮเดรต จำพวกแป้งควรอยู่ในช่วง 8 ทัพพี ต่อ 1 วัน
- รับประทานอาหารจำพวกผัก ควรอยู่ในช่วง 4-6 ทัพพี ต่อ 1 วัน
- รับประทานอาหารจำพวกผลไม้ ควรอยู่ในช่วง 3-4 ส่วน
- รับประทานอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ นม และไข่ ควรอยู่ในช่วง 6 ช้อนโต๊ะ และนม 1 แก้ว
- รับประทานอาหารจำพวกไขมัน น้ำตาลและเกลือ ไม่ควรเกิน 6 ช้อนชา
ธงโภชนาการ อาหาร5หมู่ เป็นแบบอย่างการทานอาหารที่มีคุณค่าเพื่อให้ร่างกายของเรามีสุขภาพแข็งแรงและสามารถคำนวณปริมาณการทานอาหารในแต่ละวันได้เป็นอย่างดี ซึ่งการทานอาหารในแต่ละวันของคนเรานั้นมักขึ้นอยู่กับความเร่งรีบ จนลืมไปว่าการทานอาหารให้ถูกหลักโภชนาการนั้น เป็นเรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม เพราะจะทำให้เราได้รับสารอาหารที่ครบถ้วนในปริมาณที่ร่างกายสมควรได้รับ รวมถึงยังช่วยให้ผู้ที่ทานอาหารตามหลักธงโภชนาการนั้น ห่างไกลจากการเกิดโรคร้ายต่าง ๆ ที่ไม่สามารถล่วงรู้ล่วงหน้าได้ ดังนั้นการทานอาหารตามธงโภชนาการในแต่ละวัยให้ถูกต้องเหมาะสม จึงถือเป็นการกระทำที่มีประโยชน์สูงสุดต่อชีวิตของมนุษย์นั่นเอง
FAQ : คำถามที่พบบ่อยเกี่ยวกับอาหารโภชนาการ
- อาหารที่ควรรับประทานในปริมาณเท่าไหร่ในแต่ละวัน?
การรับประทานอาหารขึ้นอยู่กับความต้องการของร่างกาย แต่ส่วนใหญ่ควรมีประกอบด้วยโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน ผัก และผลไม้ในสัดส่วนที่สมดุล เลือกแหล่งโปรตีนดังเนื่องไปด้วยการรับประทานปลา ไก่ ถั่ว เป็นต้น และรับประทานไขมันที่ดี เช่น น้ำมันมะพร้าว และมีการบริโภคผักและผลไม้ที่หลากหลาย
- เมื่อต้องการลดน้ำหนัก ควรทานอาหารแบบไหน?
ให้ลดปริมาณการบริโภคคาร์โบไฮเดรตที่มีน้ำตาลและไขมันไม่ดี เช่น อาหารหวาน อาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เปลี่ยนมาทานอาหารที่มีคุณค่าสูง เช่น ผัก ผลไม้ ปลา ไก่ และเลือกทานในปริมาณที่ควบคุม
- อาหารเสริมควรใช้หรือไม่?
หากคุณสามารถรับประทานอาหารที่สมดุลและครบถ้วนจากแหล่งธรรมชาติได้เพียงพอ ไม่จำเป็นต้องใช้อาหารเสริม แต่ถ้าคุณมีความต้องการเฉพาะหรืออาจไม่ได้รับสารอาหารบางอย่างในปริมาณเพียงพอ เช่น วิตามิน D สำหรับผู้ที่อยู่ภูมิทัศน์ที่ไม่มีแสงแดดเพียงพอ การใช้อาหารเสริมอาจเป็นทางเลือก
- การบริโภคน้ำมันและไขมัน ควรทำอย่างไร?
น้ำมันและไขมันเป็นส่วนหนึ่งของอาหารที่จำเป็น แต่ควรเลือกน้ำมันที่ดี เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันมะกอก และใช้ในปริมาณที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันอิ่มตัว เช่น อาหารที่ทอด อาหารแพคเกจที่มีมันมาก
- วิธีการจัดการกับการกินเยอะเกินไป?
การรับรู้ความหิวและความอิ่ม ทานอาหารเป็นมื้อเล็กๆ แบ่งมื้ออาหาร รับประทานอาหารช้าๆ และควบคุมส่วนของอาหารที่รับประทาน เพื่อป้องกันการกินเยอะเกินไป
- คุณค่าทางโภชนาการของอาหารจะต้องดูที่อะไร?
คุณค่าทางโภชนาการของอาหารควรดูที่ปริมาณโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน แร่ธาตุ และใยอาหาร รวมถึงการเลือกใช้แหล่งอาหารที่มีคุณค่าสูง เช่น ผัก ผลไม้ และแหล่งโปรตีนที่มีคุณค่า
” ฟักทองผัดไข่ ” เมนูอาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ
“ ฟักทองผัดไข่ “ เมนูอาหา
เมนู ” ต้มเลือดหมู ” เมนูอาหารสำหรับผู้สูงอายุ ทำง่ายกินง่ายแถมมีประโยชน์เยอะ
เมนู “ ต้มเลือดหมู “ เมนู
เมนู ” แกงเลียง ” อาหารที่มีประโยชน์สำหรับผู้สูงอายุ
เมนู “ แกงเลียง “ อาหารที
” ผัดมะเขือยาว ” สุดยอดเมนูเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงอายุ
“ ผัดมะเขือยาว ” สุดยอดเม
” ต้มจับฉ่าย ” เมนูผักง่ายๆที่มีประโยชน์ต่อผู้สูงอายุ
“ ต้มจับฉ่าย “ เมนูผักง่า